โดย:-
ศจ. ธีรพันธ์ ขอบใจ
หนังสือโยชูวา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชัยชนะและความสำเร็จของประชากรของพระเจ้า
หลังจากตกเป็นทาสในอียิปต์ถึง 430 ปีและเดินหลงทางในถิ่นทุรกันดารถึง 40 ปีในที่สุดชนชาติอิสราเอลได้รับอนุญาตให้เข้าสู่แผ่นดินซึ่งพระเจ้าได้ทรงสัญญาไว้กับบรรพบุรุษของพวกเขาพระธรรมเล่มนี้ได้กล่าวถึงตัวละครหลัก
3 กลุ่ม คือ องค์พระผู้เป็นเจ้า
= ในฐานะเป็นพระเจ้าของชนชาติอิสราเอล โยชูวา = ในฐานะผู้รับใช้ของพระเจ้า อิสราเอล = ประชากรของพระเจ้า ผู้เขียนและวันเวลาที่เขียน นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าพระธรรมโยชูวาถูกเขียนขึ้นภายหลังยุคกษัตริย์
คือ ประมาณ 800 ปีหลังจากที่เกิดเหตุการณ์จริงแต่ยังมีเหตุผลโต้แย้งว่าพระธรรมโยชูวาอาจเขียนขึ้นก่อนหน้านั้น
เป็นเวลานาน แหล่งข้อมูลเก่าแก่ที่สุดของชาวยิว
(หนังสือทัลมุด) กล่าวว่าผู้เขียนเป็นโยชูวาเอง
ยกเว้นเนื้อหาที่เกี่ยวกับการฝังของเขา
ผู้เขียนตอนท้ายอาจเป็นเอเลอาซาร์บุตรอาโรน
เราพบหลักฐานจากเนื้อหาพระธรรมโยชูวาอย่างน้อย 2 ตอน
ซึ่งระบุว่าโยชูวาได้สั่งให้เขียนพระธรรมเล่มนี้ ขณะแบ่งดินแดนให้แต่ละเผ่าโยชูวาสั่งให้เขาเขียนว่า
“จงไปสำรวจและบันทึกลักษณะของแผ่นดิน” (18:8) ขณะนำชาวอิสราเอลในการฟื้นฟูพันธสัญญากับพระเจ้า
พระคัมภีร์ได้บันทึกว่า “เขาเขียนกฎหมายและกฎบัญญัติ”
(24:25) ชีวิตโยชูวา โยชูวาได้พบเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นหลายอย่าง
เช่น ความสำเร็จ และเกียรติยศ เขามีชื่อเสียงที่เชื่อฟังพระเจ้าอย่างสุดใจ
และเป็นคนที่ “มีพระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่ภายใน” (กันดารวิถี 27:18) เขามีความขมขื่นในวัยหนุ่มในฐานะทาสในอียิปต์ เขาได้ผ่านภัยพิบัติและเห็นการอัศจรรย์ที่พระเจ้าทรงช่วยชาวอิสราเอล ได้หลบหนีทหารอียิปต์โดยน้ำทะเลแดงแยกออกจากกัน
ได้เป็นผู้นำกองทัพอิสราเอลไปสู่ชัยชนะเหนือกองทัพอามาเลขที่ซีนาย (อพยพ 17:8-13) เขาเป็นคนที่เคยเฝ้าดูเต้นท์นัดพบที่โมเสสสร้างขึ้นก่อนที่จะมีการสร้างพลับพลา
(อพยพ 33:11) เขาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนเผ่าเอฟราอิม
เพื่อเป็นหนึ่งใน 12
คนที่เข้าไปสอดแนมในคะนาอันก่อนที่จะเข้ายึดแผ่นดิน และอีกคนหนึ่งคือคาเลบ “ที่พร้อมจะทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าและบุกเข้ายึดครองแผ่นดิน” (กันดารวิถี 14:26-34) สังเกต : พระเจ้าทรงเรียกใช้คนที่คิดบวก
และ คนที่คิดบวกเท่านั้นที่จะทำการใหญ่ของพระเจ้าให้สำเร็จได้ เขาคือคนที่พระเจ้าทรงเลือก (24:29) ให้สานต่อภารกิจของโมเสสให้สำเร็จ และนำอิสราเอลเข้าไปถึงถิ่นฐานในดินแดนแห่งพันธสัญญา เมืองเยรีโค เมืองนี้เป็นเมืองแรกที่โยชูวายึดไว้ได้
(6:2-20)
เยรีโคเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งบนแผ่นดินโลก เหตุการณ์สำคัญ : ใกล้สถานที่แห่งนี้ เช่น
โยชูวาและลูกหลานอิสราเอลข้ามแม่น้ำจอร์แดน,
พระเจ้าทรงให้กำแพงพังลงอย่างอัศจรรย์, เอลีชาทำให้น้ำของเยรีโคเป็นน้ำดี (2 พกษ 2:18-22)
พระเยซูได้เสด็จผ่านมาทางนี้ในการเยือนกรุงเยรูซาเล็ม,
ทรงรักษาบารทิเมอัส คนตาบอดให้มองเห็นได้,
ทรงเรียกศักเคียสขณะปีนขึ้นต้นมะเดื่อเพื่อพบพระเยซู (มาระโก 10:46-52; ลูกา 18:35-43; 19:1-10) ถนนจากเยรูซาเล็มไปเยรีโคคือถนนที่บรรยายไว้ในคำอุปมาของชาวสะมาเรียใจดี
(ลูกา 10:30-37) แผนพิชิตเยรีโค ดูภาพยนตร์เยรีโค และ คลิปวีดีโอ “เรืยนรู้อดีตลิขิตอนาคต-เยรีโคเมืองประวัติศาสตร์” โยชูวา 6:1-27 กล่าวถึงชัยชนะที่มีเหนือเมืองเยรีโค และได้แบ่งออกเป็น 3
ตอน ได้แก่ (1) พระบัญชาของพระเจ้าต่อโยชูวา
(ข้อ 1-5) (2) การปฏิบัติตามพระมหาบัญชาของพระเจ้า (ข้อ 6-21)
และ ( 3) เหตุการณ์หลังสงคราม (ข้อ 22-27) (1).รับพระมหาบัญชาของพระเจ้า
(ข้อ 1-5) ดูแน่ะเราได้มอบเมืองเยรีโคไว้ในมือเจ้าแล้ว
เจ้าทั้งหลายจง “เดินขบวนรอบเมือง” วันที่ 1-6
วันละหนึ่งรอบ และวันที่ 7 เดิน 7 รอบ
ปุโรหิตเป่าเขาสัตว์ ประชาชนโห่ร้องเสียงอันดัง กำแพงเมืองนั้นก็จะพังลงราบ ปุโรหิต (ปุโรหิตยกหีบพันธสัญญา/ ปุโรหิต 7
คน ถือแตรเขาสัตว์ 7 คัน) หีบ
เป็นสัญลักษณ์ของการสถิตอยู่ด้วยของพระเจ้า
(ทหารนำหน้า ------ หีบพันธสัญญาอยู่ตรงกลาง ------
ตามหลังด้วยปุโรหิตผู้เป่าแตรเขาแกะ
เป็นการเน้นย้ำว่าการมีชัยชนะเหนือดินแดนคานาอันนั้นเกิดจากพระเจ้า) (2) การปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้า
(ข้อ 6-21)
(โดยการเชื่อฟังแบบง่ายๆ ถึงแม้ว่าดูไม่มีเหตุผลก็ตาม) โยชูวาเรียกปุโรหิตมาสั่งว่า
“จงยกหีบแห่งพันธสัญญาขึ้นหามไป….. (มีผู้รับใช้/
มีหีบพันธสัญญาของพระเจ้านำหน้า) และสั่งประชาชนว่า “จงออกเดินรอบเมืองนั้น…. (ให้ทหารถืออาวุธเดินข้างหน้าหีบแห่งพระเจ้า)โยชูวาได้ปฏิบัติตามทุกอย่างที่พระเจ้าทรงบัญชาไว้
/ ได้เดินตามนิมิต/ที่ได้รับวันที่ 7
เป็นวันที่พระเจ้าทรงมอบเมืองนี้ไว้กับคนอิสราเอล
เพื่อเป็นหลักประกันแรกของการบรรลุเป้าหมาย (ความน่าประหลาดของจำนวนเลข 7 ที่ปรากฏอยู่ในเหตุการณ์ ได้แก่ ปุโรหิต 7
คนที่เป่าแตรเขาแกะ / วัน 7 วัน/ เดินขบวน 7 รอบในวันที่ 7)
เน้นให้เห็นความศักดิ์สิทธิ์ของเหตุการณ์นั้น
และอาจเจตนาให้ระลึกถึงเรื่องการทรงสร้าง 7 วันของพระเจ้า
เพื่อแสดงภาพการเริ่มต้นแบบแผนใหม่ของพระเจ้าในโลกนี้) ข้อ 20
ประชาชนก็โห่ร้องเสียงดัง
และกำแพงก็พังลงราบ
ให้เราเรียนรู้เดินตามแผนของพระเจ้าแบบง่ายๆ เหมือนโยชูวาที่ค้นพบว่า “พระเจ้าทรงอัศจรรย์” 1โครินธ์ 5:57 “สาธุการแด่พระเจ้า ผู้ทรงประทานชัยชนะแก่เราทั้งหลาย
โดยพระเยซูคริสต์เจ้าของเรา” (3) พิชิตเยรีโคด้วยความเชื่อ
(ข้อ 6-16,20) ฮีบรู
11:30 “เพราะความเชื่อ
เมื่อพวกอิสราเอลล้อมกำแพงเมืองเยรีโคไว้ถึง 7 วัน
แล้วกำแพงเมืองก็พังลง” 1ยอห์น 5:4 “เพราะทุกคนที่เกิดจากพระเจ้าก็มีชัยต่อโลกและความเชื่อของเรานี่แหละเป็นชัยชนะที่ชนะโลก” ในทางทหาร
การทำลายกำแพงเมืองต้องใช้เครื่องยิง หรืออุปกรณ์ทำลายกำแพง
แต่พระเจ้าสั่งให้คนอิสราเอลเดินรอบกำแพงเป็นเวลา 7 วันแล้วกำแพงก็พังลง พระธรรมฮีบรู ได้ยืนยันแก่เราว่า
คนอิสราเอลมีความเชื่อ
การพังลงของกำแพงเมืองเยรีโคเป็นสิ่งยืนยันว่าคนของพระเจ้าต้องเชื่อในพระสัญญาของพระองค์
และเชื่อสิ่งที่พระองค์สั่ง แม้ว่าจะขัดกับความเข้าใจหรือวิธีการของเรา สำหรับเราในวันนี้
กำแพงเยรีโคแต่ละท่านคืออะไร?
ในแต่ละวันมีความท้าทายและอุปสรรคปัญหาที่เราต้องเผชิญอยู่เสมอ
หนทางเดียวที่เราจะเติบโตขึ้นในความเชื่อคือ “ยอมรับความท้าทายและอุปสรรคต่างๆเหล่านั้นด้วยวางใจในพระเจ้าว่าพระองค์จะทรงประทานชัยชนะให้เรา
ฟีลิปส์บรู๊คส์ผู้รับใช้พระเจ้าท่านหนึ่งกล่าวว่า “อย่าอธิษฐานขอชีวิตที่สะดวกสบาย
อย่าอธิษฐานขอความรับผิดชอบที่ทัดเทียมกับกำลังของท่าน
แต่จงขอให้มีกำลังทัดเทียมกับความรับผิดชอบที่พระเจ้าทรงมอบให้” คำถามอภิปราย 1. ทุกวันนี้ท่านดำเนินชีวิตอย่างผู้มีชัยในพระคริสต์
หรือท่านกำลังต่อสู้ดิ้นรนเพื่อที่จะเป็นผู้ชนะ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? 2. โดยปกติ คำอธิษฐานของท่านเป็นไปในลักษณะใด
ระหว่าง “อธิษฐานขอความรับผิดชอบจากพระเจ้าที่ทัดเทียมกับกำลังของท่าน” หรือ “อธิษฐานขอให้ท่านมีกำลังทัดเทียมกับความรับผิดชอบที่พระเจ้าทรงมอบให้” เพราะเหตุใด?
ใคร่ครวญบุคคลในพระคัมภีร์
ซีโมนชาวไซรีน : เชื่อฟัง
(มัทธิว 27:27-32)
ปาเลสไตน์เป็นดินแดนที่ถูกยึดครองโดยทหารโรมัน พวกเขาจะบังคับใครก็ได้ให้มาเป็นคนรับใช้ เพียงแค่ใช้ทวนของโรมันแตะลงบ่าของคนๆ
นั้นก็เท่ากับเป็นสัญญาณเรียกเข้าประจำการ
เมื่อพระเยซูคริสต์ล้มลงเพราะน้ำหนักของไม้กางเขน
นายพันทหารก็กวาดสายตาไปรอบๆ เพื่อหาใครสักคนมาแบกแทนพระองค์ ซีโมนจึงถูกแตะที่บ่า เขาผ่านมาในฐานะของแขกที่จะเข้าเมือง ภาระหนักจึงตกลงที่บ่าของเขา ณ เวลานั้น ซีโมนคงโกรธแค้นทหารโรมัน ที่ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงประชาชน แต่เหตุการณ์กลับกลายเป็นสิทธิพิเศษ ที่แม้แต่อัครทูตระดับแนวหน้าก็ไม่ได้รับ แต่กลับตกไปเป็นของคนบ้านนอก
ด้วยเหตุนี้เราจึงได้เห็นสิทธิอำนาจที่พระเจ้าได้ทรงกำหนดให้ไว้ในแต่ละบุคคล ภาระหนักที่อยู่บนบ่าของซีโมนได้พาเขาไปถึงที่กลโกธา
ซึ่งจะเป็นที่ให้เราได้วางภาระหนักฝ่ายวิญญาณลง
และเราก็เชื่อว่าซีโมนได้ผ่านประสบการณ์นั้นมาแล้วด้วย
ข้อคิด:- “บรรดาผู้ที่ทำงานเหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาหาเราและเราจะให้ท่านทั้งหลาย หายเหนื่อยเป็นสุข” (มัทธิว 11:28)